พ่อแม่ทีมเดียวกัน ลูกพร้อมไปด้วยกัน

พ่อแม่ทีมเดียวกัน ลูกพร้อมไปด้วยกัน

Loading

เลี้ยงเด็กหนึ่งคนในบ้าน กติกาของบ้านควรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อไม่ให้เด็กสับสนว่าเขาควรปฏิบัติตัวอย่างไรเด็กจะฟังและทำตาม

เด็กจะเรียนรู้การเคารพและให้เกียรติทุกคน เมื่อทุกคนในบ้านให้เกียรติซึ่งกันและกัน ดังนั้นผู้ใหญ่ควรคุยกันเสมอ เพื่อทำความเข้าใจกัน ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนทุกสิ่ง ขอแค่เจอกันตรงกลางก็พอ

❤︎ สิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรปฏิบัติต่อกันและกัน❤︎

“เราไม่ควรทะเลาะกันหรือขัดขวางกันและกันต่อหน้าลูก”

ถ้าหากเราไม่เห็นด้วยกับอีกฝ่าย ให้มาคุยกันทีหลังหรือดีที่สุด เราควรทำข้อตกลงหรือ กติกาภายในบ้านให้ชัดเจนตั้งแต่แรก เพื่อที่เราจะได้รับมือหรือทำสิ่งต่าง ๆ ไปในทิศทางเดียวกัน

เราไม่ควรทำลับหลังอีกฝ่ายหรือทำให้ลูกไม่ชอบอีกฝ่าย” 

ยกตัวอย่างเช่น “พ่อให้ดูหนังหนึ่งเรื่อง อย่าบอกแม่นะ” “แม่ให้ขนมหนึ่งชิ้น เราเก็บเป็นความลับนะ” “อย่าบอกแม่นะ ไม่งั้นแม่โกรธพ่อแน่นอน” เป็นต้น เพราะเราจะทำให้ลูกไม่รู้สึกไม่ดีหรือไม่ฟังอีกฝ่าย

“เราไม่ควรพยายามให้ลูกมาเป็นพวกของเรา

“ครอบครัว” ไม่ควรแบ่งฝ่าย “ลูก” ไม่ใช่สมบัติของใคร เขาเป็นสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัวของเรา เวลาพ่อแม่ทะเลาะกัน ควรเป็นเรื่องแค่ระหว่างเราสองคน ไม่ควรนำลูกมาเป็นกรรมการตัดสินการทะเลาะในครั้งนี้ เพราะสำหรับลูกแล้วคนหนึ่งก็พ่อคนหนึ่งก็แม่ของเขา เรา ไม่ควรให้ลูกต้องเลือกฝั่ง

เราไม่ควรทำให้อีกฝ่ายอับอาย”

ด้วยการตำหนิอีกฝ่ายให้เด็กฟัง เช่น “พ่อลูกไม่ได้เรื่อง” “แม่ลูกคิดมากเกินไป” เพราะ เด็กจะอึดอัดกับเราและอีกฝ่าย บ้านก็ไม่น่าอยู่อีกต่อไป

“เรื่องใดที่ไม่เข้าใจกันหรือมีความคลุมเครือ”

เราไม่ควรคิดไปเอง “การสื่อสาร” จึงเป็นสิ่งสำคัญภายในครอบครัว คุยกันมาก ๆ ถ้าไม่เข้าใจกันให้ถามด้วยเหตุผล อย่าใช้อารมณ์หรือพูดประชดประชัน เพราะเรื่องจะบานปลายใหญ่โต

เราไม่ควรใช้ความเงียบเพื่อแก้ปัญหา

หากปราศจากซึ่งการสื่อสาร ครอบครัวจะแตกออกได้เช่นกัน จากสายสัมพันธ์ที่ค่อย ๆ เลือนหายไปจากการไม่พูดไม่จากัน รอยร้าวนั้นไม่ต่างอะไรกับการทะเลาะกัน แต่ความเงียบเป็นรอยร้าวที่ลึก และยากที่จะประสานกว่านัก

“เราควรฟังให้มาก บ่นให้น้อย และพูดให้ชัดเจน

การพูดเยอะ บ่นเยอะ บางครั้งก็ทำให้คนอื่นไม่อยากพูดต่อแล้ว เราจะเสียโอกาสในการรับฟังในสิ่งที่คนอื่นคิด และการแก้ปัญหาของครอบครัวที่ดีจะไม่เกิดขึ้น หากมาจากความคิดของเราแค่คนเดียว

สุดท้ายครอบครัวที่สมบูรณ์แบบอาจจะไม่มีอยู่จริงแต่ครอบครัวที่มีความสุขเกิดขึ้นได้หากเรายอมรับจุดบกพร่องของกันและกันและช่วยกันเติมเต็มในส่วนที่อีกฝ่ายทำไม่ได้ยอมรับและยินดีช่วยเหลือในสิ่งที่เราทำได้และยินดีให้อีกฝ่ายช่วยเหลือในสิ่งที่เราทำไม่ได้

 

.

ขอบคุณข้อมูลจาก

เมริษา ยอดมณฑป นักจิตวิทยา

เจ้าของเพจ ตามใจนักจิตวิทยา