ถึงแม้ว่าหลายคนจะยังรู้สึกว่าตัวเองยังเป็นเด็ก แต่พอก้าวเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ไม่ใช่พ่อแม่หรือคนใกล้ชิดที่เดินเข้ามาขีดเส้นบอกว่าเรากำลังเข้าสู่วัยนี้ แต่สิ่งที่บอกเรา ว่า “เป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว”คือสภาพร่างกายที่เปลี่ยนไป
“มีเลือดประจำเดือนออกมาไม่ทันตั้งตัว จะทำยังไงดี”
“หน้าอกของเราตอนนี้ต้องใส่เสื้อในหรือยังนะ”
หลายคนคงเคยตั้งคำถามเมื่อพบเหตุการณ์เหล่านี้กับร่างกายตัวเองในวัยรุ่น สัญญาณของการโตเป็นสาว จะเริ่มตั้งแต่ช่วงวัยประมาณ 11-13ปีช่วงอายุที่ร่างกายเด็กหญิงทุกคนกำลังโตอย่างรวดเร็วส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเปลี่ยนแปลงตามลำดับดังต่อไปนี้
♥ เต้านมเริ่มขยาย แม้แต่ก่อนเราจะแบนราบ แต่เริ่มเมื่ออายุ 8-13ปี จะคลำเจอเต้านมก้อนเล็ก ๆ ได้ที่บริเวณใต้หัวนม จากนั้นจะค่อยๆมีเนื้อบริเวณหน้าอกมากขึ้นและลานเต้านมขยายใหญ่ขึ้นซึ่งเมื่อเราเริ่มอายุ 8-9 ปี ก็ควรเริ่มใส่เสื้อในเพื่อความปลอดภัย
♥ มีเส้นขนที่หัวหน่าว อย่าแปลกใจหากหัวหน่าวของเราจะเริ่มมีไรขนขึ้นบาง ๆ ทั้งชายและหญิง ในช่วงอายุ9-12 ปี หลังจากนั้นจะเริ่มหยัก และหนาตัวขึ้น กระจายตัวมากขึ้นเป็นรูปสามเหลี่ยมชี้ลง สิ่งนี้มีขึ้นเพื่อปกป้องบริเวณนี้จากแรงเสียดสีไม่ใช่เรื่องน่าอายแต่การใส่กางเกงในให้เหมาะสม รักษาสุขอนามัยเมื่อมีขนขึ้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะอาจสร้างกลิ่นไม่พึงประสงค์ นำไปสู่การถูกล้อเลียนได้
♥ รูปร่างสูงขึ้น ช่วงเวลาการยืดตัวของวัยรุ่นหญิงจะสูงขึ้น หลังจากเริ่มมีเต้านมอายุประมาณ 8-13 ปี โดยสูงขึ้นเฉลี่ยปีละ 8 ซม. ถึงช่วงมีประจำเดือนหลังจากนั้นจะยังสูงได้ต่ออีกประมาณ6-12 ซม.
♥ น้ำหนักเพิ่ม ซึ่งเกิดจากการพัฒนาของรูปร่าง มวลกระดูกและกล้ามเนื้อจากการเติบโตตามธรรมชาติ เฉลี่ยน้ำหนักมักเพิ่มประมาณ 8 กก.ต่อปี หลังจากส่วนสูงเริ่มเพิ่มขึ้นแล้ว 6 เดือน ดังนั้น ให้เข้าใจว่า “น้ำหนักเพิ่มไม่ได้แปลว่าอ้วนนะเสมอไป”
♥ สัดส่วนร่างกายเปลี่ยน เนื้อนิ่มจากไขมันสะสม เอวคอด สะโพกผาย ใบหน้าและผิวพรรณเปล่าปลั่ง อาจจะมีสิวขึ้นหน้าบ้างแต่ก็เป็นเรื่องธรรมชาติควรรักษาความสะอาดบริเวณใบหน้าเพื่อลดสิวจากฮอร์โมน
♥ มีประจำเดือนและมีระดู จากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศ ซึ่งกระตุ้นให้รังไข่ตกไข่ออกมาเดือนละฟอง สลับกัน ทั้งนี้ประจำเดือนมักจะเกิดหลังจากมีเต้านมแล้วประมาณ 2-3 ปี
คำแนะด้านสุขภาพสำหรับวัยรุ่นหญิง
- วัยรุ่นควรปรึกษาและพูดคุยกับผู้ปกครอง หรือผู้ใหญ่ แทนที่จะเป็นเพื่อน และมีรับผิดชอบในการดูแลสุขภาพทางเพศของตนเอง
- ทำความเข้าใจ ยอมรับและเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เกิดขึ้นว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ
- ดูแลรักษาสุขอนามัยและความสะอาดของตนเอง เช่น ผิว เล็บ การมีระดู
- กิจวัตรที่ควรทำ เช่น กินอาหาร 3 มื้อ ครบ 5 หมู่ นอนพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 8-10 ชั่วโมง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 60 นาทีทางการแพทย์แนะนำให้ช่วงวัยรุ่นอายุ 9-18 ปีได้รับแคลเซียมวันละ 1,300 มก. และวิตามินดีอย่างน้อย 200-400 ยูนิตต่อวัน