เมื่อความรักไม่ใช่แค่อารมณ์ความรู้สึก

เมื่อความรักไม่ใช่แค่อารมณ์ความรู้สึก

Loading

“ความรัก” เป็นพื้นฐานของทุกชีวิต ทุกคนเกิดมาย่อมได้สัมผัสกับความรัก โดยมีความรักเป็นจุดเชื่อมความสัมพันธ์ทั้งความรักของพ่อแม่ ความรักของญาติพี่น้อง ความรักของเพื่อน และความรักของคนรัก แม้แต่ทารกที่อยู่ในครรภ์หากได้รับการดูแลได้รับความรัก และความเอาใจใส่จากผู้เป็นแม่จะส่งผลให้ทารกมีพัฒนาการ และการเจริญเติบโตที่ดี นั้นแสดงให้เห็นว่าความรักไม่ใช่แค่อารมณ์ความรู้สึก แต่ยังเกี่ยวข้องไปถึงสารเคมีในสมอง ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจจิตวิทยาความรักที่พิสูจน์ได้ด้วยวิทยาศาสตร์ไปด้วยกัน

          ทฤษฎีสามเหลี่ยมแห่งความรัก (Triangular Theory of Love)

โรเบิร์ต สเติร์นเบิร์ก (Robert Sternberg) อาจารย์ภาควิชาจิตวิทยาประจำมหาวิทยาลัยเยล ได้อธิบายองค์ประกอบของความสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดความรักไว้ 3 ประการ ดังนี้

Triangular Theory of Love developed by Robert Sternberg to show the three components of love

    • ความสนิทสนม (Intimacy) เป็นองค์ประกอบด้านอารมณ์ที่ทำให้คนรู้สึกผูกพันกัน เกิดความเข้าใจ เกิดความเอื้ออาทรกัน โดยความรู้สึกนี้จะค่อย ๆ เกิดขึ้นเมื่อมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเป็นเวลานาน ซึ่งองค์ประกอบนี้เป็นส่วนหนึ่งในองค์ประกอบของทุกความสัมพันธ์
    • ความหลงไหล (Passion) หรือความเสน่หาเป็นแรงขับภายใน เรียกว่า แรงดึงดูดทางเพศ
    • ความผูกพัน (Commitment) เป็นการตัดสินใจ หรือเป็นองค์ประกอบในด้านความคิดที่มีการผูกมัด หรือมีการทำสัญญาต่อกันว่าจะใช้ชีวิตร่วมกันในระยะยาว และผันแปรไปตามระยะเวลา โดยแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสถานการณ์และประสบการณ์ที่ผ่านมา

          ความรักกับสารเคมีในสมอง

นอกจากองค์ประกอบของความรัก อารมณ์ความรู้สึกแล้ว ความรักยังเกิดจากสารเคมีในสมอง โดยสามารถแบ่งออกได้ 3 ประการดังนี้

    • ความใคร่ คนเรามักถูกสัญชาตญาณ หรือแรงขับภายในดึงดูดซึ่งกันและกันเสมอ โดยมีฮอร์โมนทางเพศเป็นตัวขับเคลื่อน ในผู้ชายจะมีฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสโทสเตอโรนที่มาจากการผลิตของอัณฑะ และในผู้หญิงจะมีฮอร์โมนเพศหญิง คือ เอสโตรเจนที่มาจากการผลิตของรังไข่ ซึ่งทั้งสองมีศูนย์กลางการ
    • Heart and brain embrace each other with love

      ควบคุมอยู่ในสมองส่วนไฮโปทาลามัส

    • ความหลงใหล หรือการตกหลุมรัก อาการตกหลุมรักมักทำให้คน ๆ หนึ่งตกอยู่ในภวังค์แห่งความรัก และอาจทำอะไรโดยที่ไม่รู้ตัว ซึ่งการทำงานของสมองจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มสารเคมีที่ชื่อว่า “โมโนเอมีน” ได้แก่
    • โดปามีน (Dopamine) เป็นสารแห่งความสุขที่จะหลั่งออกมาหลังรู้สึกพึงพอใจ
    • อีพิเนฟริน (Epinehrine) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ อะดรีนาลีน จะกระตุ้นให้เราเกิดความรู้สึกตื่นเต้น เขินอายเวลาเจอคนที่ชอบ
    • เซโรโทนิน (Serotonin) จะส่งผลต่อการแสดงออก เมื่อสมองหลั่งสารชนิดนี้ออกมาเราจะเกิดพฤติกรรมบางอย่างโดยที่ไม่รู้ตัว เช่น การเผลอยิ้ม เป็นต้น
    • ความผูกพัน เป็นความสัมพันธ์ในระยะยาว โดยถูกกระตุ้นจากฮอร์โมน 2 ชนิดคือ
    • ออกซิโตซิน (Oxytocin) เป็นฮอร์โมนด้านความสัมพันธ์ หากคู่รัก หรือคนในครอบครัวมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันบ่อย ๆ จะทำให้สมองหลั่งสารชนิดนี้ออกมามาก
    • วาโสเปรสซิน (Vasopressin) เป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทต่อคู่รัก ทำให้เกิดความรู้สึกอยากใช้ชีวิตร่วมกัน

เมื่อความรักไม่ใช่แค่อารมณ์ความรู้สึก แต่มีความเกี่ยวข้องกับสารเคมีในสมอง ดังนั้นเราต้องรู้จักรักให้เป็นจะทำให้เรามีความสุขทุกความสัมพันธ์