ไขข้อสงสัยสาเหตุที่เส้นเลือดในสมองแตกเกิดจากอะไร

ไขข้อสงสัยสาเหตุที่เส้นเลือดในสมองแตกเกิดจากอะไร

Loading

การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐคำนี้ยังใช้ได้เสมอ แต่ในความเป็นจริงยิ่งเราอายุมากความเสียงในการที่จะเกิดโรคต่าง ๆ ก็อาจจะมากขึ้นตามไปด้วย อย่างเช่น โรคเส้นเลือดในสมองแตกก็เป็นอีกหนึ่งโรคยอดฮิตที่เกิดขึ้น แต่หลาย ๆ คนอาจะสงสัยว่าโรคนี้มีสาเหตุมาจากอะไรวันนี้เราจะเพื่อน ๆ ไปไขข้อสงสัยกันครับ

     โรคเส้นเลือดในสมองแตกเกิดจากอาการที่หลอดเลือดในสมองฉีกขาด จึงทำให้เลือดออกในสมอง ซึ่งส่งผลให้เสียชีวิตได้ ซึ่งสาเหตุเกิดจากความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นความผิดปกติของเส้นเลือด ที่ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดไปยังไต และอวัยวะทั่วร่างกาย ซึ่งผนังหลอดเลือดขยายตัวหนาขึ้นทำให้หลอดเลือดมีขนาดแคบลง จึงทำให้ปริมาณเลือดที่ลำเลียงไปที่ไตมีน้อยลงและทำให้ส่วนประกอบที่อยู่ใน ไตที่เรียกว่า เร็นนิน เกิดการเพิ่มความดันในเลือดให้สูงขึ้น ทางการแพทย์เรียกโรคนี้ว่า โรคความดันโลหิตสูงจากหลอดเลือดไต อาการของโรคเส้นเลือดในสมองแตกเกิดจากความดันสูงมักพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะแต่บาง รายอาจไม่มีก็ได้ คลื่นไส้ อาเจียน อาจหมดสติหรือระดับความรู้สึกตัว แขนขาอ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่ง พูดไม่ชัดหรือถ้าเกิดในสมองเด่นทำให้พูดไม่ได้ อาการและอาการแสดงจะขึ้นกับขนาดของก้อนเลือด และอาการจะเป็นขึ้นอย่างรวดเร็ว เฉียบพลัน ผู้ป่วยบางรายอาจมีเส้นเลือดแตกก่อนแล้วล้มลงทำให้เข้าใจผิดว่าเลือดออกจาก ศีรษะกระแทกพื้น อาการมักเกิดขึ้นเฉียบพลัน ผู้ป่วยจึงควรสังเกตอาการตนเองอย่างใกล้ชิด!

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง มีดังนี้

     • โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุด

     • โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่น้ำตาลในเลือดในช่วงที่งดอาหารสูงมากกว่า 120 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะมีความเสี่ยงต่อหลอดเลือดตีบมากขึ้น

     • ระดับไขมันในเลือดสูง ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว มีการตีบแคบลงในที่สุด ทำให้เกิดการอุดตันได้

     • โรคหัวใจ เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ

     • การสูบบุหรี่และดื่มสุรา

     • ขาดการออกกำลังกายจะเพิ่มความเสี่ยงของของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน

     • ความอ้วน ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก มีโอกาสเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูงหรืออาจเป็นได้ทั้ง 2 โรค

     • อายุ โรคหลอดเลือดสมองมักพบในคนอายุมากกว่า 65 ปี แต่คนที่อายุน้อยกว่านี้ก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้

     • ประวัติในครอบครัว ถ้าบุคคลในครอบครัวของคุณเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน จะเพิ่มความเสี่ยงให้คุณมากขึ้น

     • ความเครียด