1. เตรียมความคิด
สร้างความเชื่อมั่นให้กับตัวเองว่าเรื่องเพศเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต ไม่ได้หมายถึงแค่การมีเพศสัมพันธ์ พยายามคิดถึงประโยชน์ที่ลูกๆ จะได้รับ เช่น มีทักษะเจรจาต่อรอง รู้จักปฎิเสธ รู้วิธีป้องกันตัวเอง ที่สำคัญเมื่อสงสัยเรื่องเพศก็จะไม่เรียนรู้จากเพื่อนๆ แต่เห็นเราเป็นแหล่งข้อมูลชั้นเยี่ยม
2. เตรียมใจ
ทำใจให้ผ่อนคลาย อย่ากังวลเกินไปว่าจะถูกถามเรื่องอะไร เพราะเราไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่อง เมื่อไม่รู้ก็ให้บอกไปตามตรง และช่วยกันหาคำตอบ ค้นข้อมูลด้วยกัน ทำให้กลายเป็นกิจกรรมสนุก เพิ่มความใกล้ชิดในครอบครัว
3. พร้อมรับฟัง
ฟังเรื่องที่ลูกพูดอย่างตั้งใจ รับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกของเขา ห้ามด่วนตัดสินว่าผิดหรือถูกก่อนฟังจบ และพูดคุยด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน ไม่คาดคั้น พร้อมประคับประคองความรู้สึกของลูก
4.เรียนรู้โลกของลูก
เด็กวัยเดียวกันมีการรับรู้ มีความสามารถเฉพาะตัวต่างกัน จึงไม่สามารถใช้คำตอบเดียวกันกับทุกคนได้ ผู้ใหญ่จึงต้องหมั่นสังเกตว่าเด็กคบเพื่อนแบบไหน อ่านหนังสือหรือชอบดูรายการทีวีประเภทไหน เมื่อรู้จักโลกของเขาก็จะทำให้รู้แนวทางว่าควรคุยเรื่องเพศกับเขาอย่างไรจึงจะเหมาะสม
5.ใช้เหตุการณ์รอบตัวมาเปิดประเด็น
มีหลายโอกาสที่สามารถเริ่มพูดคุยเรื่องเพศกับเขาได้ เช่น เมื่อมีผู้หญิงท้องเดินผ่านมา ลองถามลูกว่า “หนูคิดว่าเด็กเกิดมาจากไหน?” “เคยเห็นผู้ชายตั้งท้องไหม?” หรือตอนดูละครด้วยกันแล้วมีเลิฟซีนฟินเว่อร์ คุณอาจถามเขาว่า “คิดอย่างไรกับฉากนี้?”
6.ไม่ยัดเยียดข้อมูล
เรื่องเพศจะน่าเบื่อเหมือนวิชาเรียนทันที ถ้าคุณใส่ข้อมูลมากเกินไป เราไม่จำเป็นต้องทำเหมือนจับเขามาอบรมสัมนา แต่ควรเลือกเวลาสบายๆ เช่น เดินเล่น ขับรถ นอนเล่นริมชายหาด ฯลฯ ปล่อยให้การพูดคุยลื่นไหลไปเท่าที่ลูกมีความสนใจหรืออยากคุย
7. ถามแบบเปิดกว้างและไม่จู่โจม
การชวนคุยแบบไม่เจาะจง และอ้างอิงถึงคนอื่นจะทำให้ลูกสบายใจ ไม่รู้สึกว่าถูกจ้องจับผิด ช่วยให้เขาแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระมากขึ้น อาจใช้คำถาม เช่น “หนูคิดว่าดาราชายให้สัมภาษณ์แบบนี้ ดูเป็นสุภาพบุรุษหรือเปล่า?” หรือ “สมมติว่าลูกเจอเรื่องนี้บ้าง จะรู้สึกอย่างไร แล้วจะทำอย่างไร?”
8.กฎเหล็ก สอง “ไม่”